วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559

สมัยบางระจัน












เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ หรือ พระเจ้าบรมโกศ เสด็จสวรรคตในปีพ.ศ. ๒๓๐๑ทรงมอบราชสมบัติให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ หรือพระนามที่เรามักเรียกว่า กรมขุนพรพินิต แต่เมื่อครองราชสมบัติได้ ๑๐ วันก็ทรงถวายราชสมบัติให้แก่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี ซึ่งเป็นพระเชษฐาธิราชของกรมขุนพรพินิต ทรง พระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ หรือที่เรียกกันว่า สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศอมรินทร์ หรือสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศมิได้ทรงพระปรีชาสามารถในงานการปกครองบ้านเมือง พระอุปนิสัยส่วนพระองค์ก็ไม่ทรงเข้มแข็งเด็ดขาด ซึ่งเป็นคุณสมบัติอันจำเป็นที่พระเจ้าแผ่นดินจะพึงมีทำให้บรรดาข้าราชบริวาร และเหล่าเจ้านายทั้งหลายเกิดความระส่ำระส่าย ต่างคิดเอาใจออกห่าง ทั้งแบ่งพรรคแบ่งพวกไม่เกิดความสามัคคีในหมู่ราชการ ไม่เต็มใจปฏิบัติงานราชการ ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๓๐๒ พระเจ้าอลองพญามังลอง และมังระราชบุตร ยกกองทัพมาตีเมืองทวาย มะริด และตะนาวศรีซื่งเป็นของไทยในสมัยนั้น( ปัจจุบันเมืองทั้ง ๓ เป็นเมืองของสหภาพพม่าอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของไทยใกล้จังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ) สมเด็จพระเจ้าเอกทัศโปรดให้กองทัพไทย ออกไปป้องกันถึง ๓ กองทัพ แต่ก็แตกพ่ายกลับพระนครทั้งสิ้น ทางฝ่ายพม่าเมื่อเห็นไทยแตกพ่ายก็ได้ใจเร่งยกทัพล่วงเข้ามาในเขตไทย จนกระทั่งมาตั้งทัพหลวงที่เมืองสุพรรณบุรี ครั้งนั้นบรรดาข้าราชการและราษฎรต่างพากันไปกราบทูลวิงวอน เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตให้ทรงลาผนวชออกมาช่วยป้องกันรักษาพระนคร เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตทรงลาผนวชออกมารักษาพระนครให้แข็งขันกว่าเดิม ทรงส่งกองทัพออกไปตั้งรับข้าศึก ถึงกระนั้นก็ตามกองทัพไทยก็แตกพ่ายทุกทัพ ด้วยข้าราชการมิได้ปฎิบัติราชการสงครามอย่างแท้จริง พม่าสามารถยกเข้าถึงชานกรุงศรีอยุธยา ใชัปืนใหญ่ระดมยิง พระราชวัง เผอิญพระเจ้าอลองพญามังลอถูกรางปืนแตกต้องพระองค์ประชวร กองทัพพม่าจึงจำต้องยกกลับไป ซึ่งต่อมาพระเจ้าอลองพญามังลอก็ถึงแก่สวรรคต มังลอราชบุตรขึ้นเป็นกษัตริย์ในปี พ.ศ. ๒๓๐๗ พระเจ้ามังละเห็นว่าครั้งที่แล้วต้องยกทัพกลับเพราะพระเชษฐาประชวร จึงยังตีกรุงศรีอยุธยาไม่แตก จำต้องยกทัพไปอีกครั้ง ปี พ.ศ. ๒๓๐๘ พระเจ้ามังระมีบัญชาให้มังมหานรธาเป็นแม่ทัพใหญ่นำไพร่พล๑๕,๐๐๐ คนยกทัพเข้ามาทางใต้ ส่วนทางเหนือให้เนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพใหญ่นำไพร่พลประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน เคลื่อนกองทัพออกจากเมืองเชียงใหม่ กองทัพของมังมหานรธายกมาทางใต้เข้าตีเมืองทวายเมื่อตีได้แล้ว ก็เลยไปตีเมืองมะริดและเมืองตะนาวศรีของไทยด้วย พม่าได้ใจยกล่วงต่อไปทางเมืองกระ พม่าเผาเมืองชุมพร ตีเมืองปะทิวเมืองกุย ตลอดจนถึงปราณ แตกทั้ง ๓ เมือง มังมหานรธาส่งทัพหน้าเข้ามาทางกาญจนบุรีในเดือน ๗ ปีนั้นปะทะกับกับทัพพระยาพิเรนทรเทพ ที่ตั้งรอทัพพม่าอยู่ แต่ทัพไทยแตกพ่าย พม่ายกทัพเข้ามาตั้งค่ายอยู่ที่ตำบลบ้านลูกแก ฆ่าฟันลูกค้าที่มาจอดเรืออยู่แถบนั้นล้มตายเป็นอันมาก จากนั้นได้เข้ามาตั้งค่าย ณ ตอกระออมและดงรังหนองขาว ให้ไพร่พลต่อเรือรบเรือไล่อยู่ ณ ที่นั้น แล้วจัดทัพแยกไปตีเมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรี ด้านเนเมียวสีหบดียกทัพจากทางเหนือเคลื่อนลงใต้ตีหัวเมืองต่างๆลงมา ทางกรมการเมืองเหนือมีใบบอกลงมาว่า ทางเหนือเนเมียวสีหบดีส่งทัพหน้าลงมาตั้งที่กำแพงเพชร ทำการต่อเรือรบ เรือลำเลียงพลตลอดจนสะสมเสบียงอาหาร สมเด็จ พระเจ้าเอกทัศโปรดให้เจ้าพระยาพิษณุโลก ยกทัพไปตีข้าศึกในเดือน ๗ ทัพหน้าของพม่าก็ยกมาจากกำแพงเพชรมาตั้งค่ายที่เมืองนครสวรรค์ เดือน ๑๑ เนเมียวสีหบดียกจากเชียงใหม่มาทางด่านสวรรคโลก ตีเมืองต่างๆ เรื่อยมาจนถึงสุโขทัย ได้เมืองสุโขทัยแล้วตั้งทัพมั่นอยู่ในเมือง เจ้าพระยาพิษณุโลกยกทัพไปช่วย แต่เกิดเหตุจลาจลที่เมืองพิษณุโลก เจ้าพระยาพิษณุโลกจึงจำต้องยกทัพกลับไปจัดการบ้านเมือง เนเมียวสีหบดีรบกับไทยที่เมืองสุโขทัยจนถึงเดือนยี่ จึงได้ยกไปสมทบกับทัพหน้าที่กำแพงเพชร ในระยะแรกที่ฝ่ายไทยได้ทราบข่าวการรุกรานของพม่าและต่างเห็นว่าพม่าต้องยกมาตีไทยแน่นอน จึงได้ตระเตรียมทัพไว้เพื่อรับมือ แต่การวางแผนรับมือทัพพม่ากลับเป็นไปโดยผิดพลาดอย่างมหันต์ ตำราพิชัยสงครามโบราณ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น