2.1 ยุคสำริด (Bronze Age) การเริ่มต้นของยุคสำริดในแต่ละภูมิภาคจะต่างกันไปแต่ส่วนใหญ่จะเริ่มระหว่างประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว ในช่วงเวลานี้มนุษย์รู้จักนำทองแดงผสมกับดีบุกหลอมรวมกันกลายเป็นโลหะผสมที่เราเรียกว่า สำริด มาใช้ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธที่มีคุณภาพดีกว่าที่ทำจากหินขัดมาก การดำรงชีวิตของมนุษย์ยุคนี้ก็เปลี่ยนไปจากการเป็นชุมชนเกษตรกรรมเล็กๆ กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่เราเรียกว่าชุมชนเมือง มีการจัดแบ่งความสัมพันธ์ของคนในสังคมตามความสัมพันธ์และความสามารถ ซึ่งพัฒนาการนี้ทำให้สังคมมีความมั่นคงและมีการสั่งสมอารยธรรมได้อย่างรวดเร็วกว่าที่ผ่านมา แหล่งอารยธรรมสำคัญที่มีพัฒนาการจากสังคมสมัยหินใหม่สู่สมัยสำริด เช่น แหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียในภูมิภาคเอเชียตะวันตก แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ในประเทศอียิปต์ แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุในประเทศอินเดีย และแหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงเหอในประเทศจีน เป็นต้น
วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ยุคสำริด
2.1 ยุคสำริด (Bronze Age) การเริ่มต้นของยุคสำริดในแต่ละภูมิภาคจะต่างกันไปแต่ส่วนใหญ่จะเริ่มระหว่างประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว ในช่วงเวลานี้มนุษย์รู้จักนำทองแดงผสมกับดีบุกหลอมรวมกันกลายเป็นโลหะผสมที่เราเรียกว่า สำริด มาใช้ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธที่มีคุณภาพดีกว่าที่ทำจากหินขัดมาก การดำรงชีวิตของมนุษย์ยุคนี้ก็เปลี่ยนไปจากการเป็นชุมชนเกษตรกรรมเล็กๆ กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่เราเรียกว่าชุมชนเมือง มีการจัดแบ่งความสัมพันธ์ของคนในสังคมตามความสัมพันธ์และความสามารถ ซึ่งพัฒนาการนี้ทำให้สังคมมีความมั่นคงและมีการสั่งสมอารยธรรมได้อย่างรวดเร็วกว่าที่ผ่านมา แหล่งอารยธรรมสำคัญที่มีพัฒนาการจากสังคมสมัยหินใหม่สู่สมัยสำริด เช่น แหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียในภูมิภาคเอเชียตะวันตก แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ในประเทศอียิปต์ แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุในประเทศอินเดีย และแหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงเหอในประเทศจีน เป็นต้น
ยุคหินกลาง
ยุคหินกลาง
ยุคหินกลาง (Mesolihic Period หรือ Middle Stone Age) ประมาณ 10,000-5,000 ปีล่วงมาแล้วมนุษย์ในช่วงเวลานี้เริ่มมีการนำวัสดุธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ เช่น ทำตะกร้าสาน ทำรถลาก และเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินก็มีความประณีตมากขึ้น ตลอดจนรู้จักนำสุนัขมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง
ในสมัยยุคหินกลาง มนุษย์รู้จักการสร้างเครื่องยนต์และเริ่มมีทำนาพืช แต่อาชีพหลักของมนุษย์ในสมัยนี้ยังคงเป็นการล่าสัตว์ และยังเร่ร่อนไปตามแหล่งสมบูรณ์ โดยมักตั้งหลักแหล่งอยู่ตามแหล่งน้ำ ชายฝั่งทะเล ประกอบอาชีพประมง ล่าสัตว์และบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์
ยุคหินกลาง ไม่พบหลักฐานในประเทศไทย สมัยหินกลาง ใช้เครื่องมือขวานหินกะเทาะทรงโดมแบบสับตัด(Chopper Chopping Tools) เครื่องมือแบบขูด(Scrapper) เครื่องสะเก็ดหินแบบฮัวบิห์เนียน เครื่องมือแบบสุมาตราลิธ(Sumatralithลักษณะเป็นแผ่นค่อนข้างแบนยาวเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า) คนสมัยหินกลางอาศัยอยู่ในถ้ำ ในประเทศไทยพบที่ถ้ำผี ถ้ำปุงฮุง จ.แม่ฮ่องสอน และถ้ำในภาคใต้ บางแหล่งรู้จักการเพาะปลูกและทำเครื่องปั้นดินเผา ยังไม่พบร่องรอยโครงกระดูกมนุษย์สมัยนี้ในประเทศไทย
มนุษย์ในช่วงเวลานี้มีการพัฒนาขึ้นจากยุคหินเก่า จับปลาและล่าสัตว์เก่งกว่า เริ่มรู้จักการเพาะปลูกแบบง่าย ๆ มีการปรับ ปรุงการทำเครื่องมือหินกะเทาะให้มีความประณีตมากขึ้นและมีการใช้สะเก็ดหินทำเครื่องมือด้วย รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผา มีการประกอบพิธีกรรมในการฝังศพ สมัยนี้มีอายุประมาณ 10,000-8,000 ปี
ยุคเหล็ก
2.2 ยุคเหล็ก (Iron Age)
เริ่มเมื่อประมาณ 3,200 ปี มาแล้วเป็นช่วงของการพัฒนาการทางเทคโนโลยี ที่ต่อเนื่องจากยุคสำริดหลังจากที่มนุษย์สามารถนำทองแดงมาผสมกับดีบุกและหลอมเป็นโลหะผสมได้แล้วมนุษย์ก็ คิดค้นหาวิธี นำเหล็กซึ่งเป็นโลหะที่มี ความแข็งและทนทานกว่าสำริดมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธด้วยการใช้อุณหภูมิ ในการหลอมที่สูงกว่าการหลอมสำริดแล้วจึงตีโลหะเหล็กในขณะที่ยังร้อนอยู่ให้เป็นรูปทรงที่ต้องการเนื่องจากเหล็กใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้มี ความเหมาะสมกับงานการเกษตรที่ต้องใช้ความแข็งแรงมากกว่าสำริดและมีความทนทานกว่าด้วยจึงทำให้มนุษย์ยุคเหล็กสามารถทำการเกษตรได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นนอกจากนี้เหล็กยังใช้ ทำอาวุธที่มี ความแข็งแกร่งและทนทานกว่าสำริดจึงทำให้ สังคมมนุษย์ยุคนี้ที่พัฒนาเข้าสู่ยุคเหล็กและเข้าสู่ความเป็นรัฐได้ด้วยการมี กองทัพที่มีประสิทธิภาพกว่าสามารถปกป้องเขตแดนของตนเองได้ดีกว่าทำให้สังคมเมืองของตนมีความมั่นคงปลอดภัยและในที่สุดก็สามารถขยายอิทธิพลไปยังดินแดนอื่นๆได้ในเวลาต่อมา
วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ยุคหินใหม่
1.3 ยุคหินใหม่ (Neolithic Period หรือ New Stone Age)
อยู่ระหว่าง 6,000-4,000ปี มาแล้วมนุษย์ยุคนี้มี ความเจริญทางวัตถุมากกว่ายุคหินกลางรู้จักควบคุมธรรมชาติ มากขึ้นรู้จักพัฒนาการทำเครื่องมือหินอย่างประณีตโดยมีการขัดฝนหินทั้งชิ้นให้เป็นรูปร่างลักษณะต่างๆเพื่อให้เครื่องมือมีประสิทธิภาพในการใช้สอยมากขึ้นกว่าเครื่องมือรุ่นก่อนหน้านี้เช่น มีดหินที่สามารถตัดเฉือนได้แบบมีดโลหะมีการต่อด้ามยาวเพื่อใช้แผ่นหินลับคมเป็นเสียมขุดดินหรือต่อด้ามไม้สำหรับจับเป็นขวานหินสามารถปั้นหม้อดินและใช้ไฟเผาสามารถทอผ้าจากเส้นใยพืชและทอเป็นเชือกทำเป็นแหหรืออวนจับปลาลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งที่จำแนกมนุษย์ยุคหินใหม่ออกจากมนุษย์ยุคหินกลางก็คือการที่มนุษย์ยุคนี้รู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ในระดับที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น มีการปลูกข้าวและพืชอื่นๆเช่นถั่ว ฟัก บวบ และเลี้ยงสัตว์หลายชนิดมากขึ้น เช่น แพะ แกะ และวัว ซึ่งก็คงทั้งไว้ใช้งานและเป็นอาหาร วัฒนธรรมยุคหินใหม่พบอยู่ทั่วโลกแต่หลักฐานสำคัญที่มีลักษณะโดดเด่นคือการสร้างอนุสาวรีย์หิน (Megalithic) ที่มีชื่อเสียง คือ สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) ในประเทศอังกฤษสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อใช้คำนวณเวลาทางดาราศาสตร์เพื่อพิธีกรรมเพื่อบวงสรวงดวงอาทิตย์และเพื่อผลผลิตทางการเพาะปลูก
ยุคหินเก่า
1.1 ยุคหินเก่า (Paleolithic Period หรือ Stone Age)
อยู่ระหว่าง 2,500,000-10,000 ปี มาแล้วมนุษย์ในยุคนี้อาศัยอยู่ในถ้ำหรือเพิงผายังไม่มีความคิดสร้างที่อยู่อาศัยโดยใช้วัสดุธรรมชาติหรือตั้งรกรากถาวรดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์หาปลาและเก็บหาผลไม้ในป่าเมื่ออาหารตามธรรมชาติ หมดก็อพยพไปหาแหล่งอาหารที่อื่นต่อไปมนุษย์ยุคหินเก่ารู้จักประดิษฐ์เครื่องมืออย่างหยาบๆเครื่องมือที่ใช้ทั่วไปคือเครื่องมือหินกะเทาะที่มีลักษณะหยาบใหญ่หนากะเทาะเพียงด้านเดียวหรือสองด้านไม่มี การฝนให้เรียบมนุษย์ยุคหินเก่ารู้จักนำหนังสัตว์มาทำเป็นเครื่องนุ่งห่มรู้จักใช้ไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายให้แสงสว่างให้ความปลอดภัยและหุงหาอาหารมีการฝังศพทำพิธีกรรมเกี่ยวกับการตายและมี การนำเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธต่างๆของผู้ตายฝังไว้ในหลุมด้วยนอกจากนี้มนุษย์ยุคหินเก่ายังรู้จักสร้างสรรค์งานศิลปะ ซึ่งพบภาพวาดตามผนังถ้ำที่ใช้สีฝุ่นสี ต่างๆได้แก่ สีดำ น้ำตาล ส้ม แดงอ่อนและเหลืองภาพที่วาดส่วนใหญ่เป็นภาพสัตว์ เช่น วัวกระทิง ม้าป่า กวางแดง เป็นต้น ภาพวาดที่มีชื่อเสียงของมนุษย์ยุคหินเก่าอยู่ที่ถ้ำลาสโกประเทศฝรั่งเศส
สมัยบางระจัน
เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ หรือ พระเจ้าบรมโกศ เสด็จสวรรคตในปีพ.ศ. ๒๓๐๑ทรงมอบราชสมบัติให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ หรือพระนามที่เรามักเรียกว่า กรมขุนพรพินิต แต่เมื่อครองราชสมบัติได้ ๑๐ วันก็ทรงถวายราชสมบัติให้แก่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี ซึ่งเป็นพระเชษฐาธิราชของกรมขุนพรพินิต ทรง พระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ หรือที่เรียกกันว่า สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศอมรินทร์ หรือสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศมิได้ทรงพระปรีชาสามารถในงานการปกครองบ้านเมือง พระอุปนิสัยส่วนพระองค์ก็ไม่ทรงเข้มแข็งเด็ดขาด ซึ่งเป็นคุณสมบัติอันจำเป็นที่พระเจ้าแผ่นดินจะพึงมีทำให้บรรดาข้าราชบริวาร และเหล่าเจ้านายทั้งหลายเกิดความระส่ำระส่าย ต่างคิดเอาใจออกห่าง ทั้งแบ่งพรรคแบ่งพวกไม่เกิดความสามัคคีในหมู่ราชการ ไม่เต็มใจปฏิบัติงานราชการ ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๓๐๒ พระเจ้าอลองพญามังลอง และมังระราชบุตร ยกกองทัพมาตีเมืองทวาย มะริด และตะนาวศรีซื่งเป็นของไทยในสมัยนั้น( ปัจจุบันเมืองทั้ง ๓ เป็นเมืองของสหภาพพม่าอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของไทยใกล้จังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ) สมเด็จพระเจ้าเอกทัศโปรดให้กองทัพไทย ออกไปป้องกันถึง ๓ กองทัพ แต่ก็แตกพ่ายกลับพระนครทั้งสิ้น ทางฝ่ายพม่าเมื่อเห็นไทยแตกพ่ายก็ได้ใจเร่งยกทัพล่วงเข้ามาในเขตไทย จนกระทั่งมาตั้งทัพหลวงที่เมืองสุพรรณบุรี ครั้งนั้นบรรดาข้าราชการและราษฎรต่างพากันไปกราบทูลวิงวอน เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตให้ทรงลาผนวชออกมาช่วยป้องกันรักษาพระนคร เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตทรงลาผนวชออกมารักษาพระนครให้แข็งขันกว่าเดิม ทรงส่งกองทัพออกไปตั้งรับข้าศึก ถึงกระนั้นก็ตามกองทัพไทยก็แตกพ่ายทุกทัพ ด้วยข้าราชการมิได้ปฎิบัติราชการสงครามอย่างแท้จริง พม่าสามารถยกเข้าถึงชานกรุงศรีอยุธยา ใชัปืนใหญ่ระดมยิง พระราชวัง เผอิญพระเจ้าอลองพญามังลอถูกรางปืนแตกต้องพระองค์ประชวร กองทัพพม่าจึงจำต้องยกกลับไป ซึ่งต่อมาพระเจ้าอลองพญามังลอก็ถึงแก่สวรรคต มังลอราชบุตรขึ้นเป็นกษัตริย์ในปี พ.ศ. ๒๓๐๗ พระเจ้ามังละเห็นว่าครั้งที่แล้วต้องยกทัพกลับเพราะพระเชษฐาประชวร จึงยังตีกรุงศรีอยุธยาไม่แตก จำต้องยกทัพไปอีกครั้ง ปี พ.ศ. ๒๓๐๘ พระเจ้ามังระมีบัญชาให้มังมหานรธาเป็นแม่ทัพใหญ่นำไพร่พล๑๕,๐๐๐ คนยกทัพเข้ามาทางใต้ ส่วนทางเหนือให้เนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพใหญ่นำไพร่พลประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน เคลื่อนกองทัพออกจากเมืองเชียงใหม่ กองทัพของมังมหานรธายกมาทางใต้เข้าตีเมืองทวายเมื่อตีได้แล้ว ก็เลยไปตีเมืองมะริดและเมืองตะนาวศรีของไทยด้วย พม่าได้ใจยกล่วงต่อไปทางเมืองกระ พม่าเผาเมืองชุมพร ตีเมืองปะทิวเมืองกุย ตลอดจนถึงปราณ แตกทั้ง ๓ เมือง มังมหานรธาส่งทัพหน้าเข้ามาทางกาญจนบุรีในเดือน ๗ ปีนั้นปะทะกับกับทัพพระยาพิเรนทรเทพ ที่ตั้งรอทัพพม่าอยู่ แต่ทัพไทยแตกพ่าย พม่ายกทัพเข้ามาตั้งค่ายอยู่ที่ตำบลบ้านลูกแก ฆ่าฟันลูกค้าที่มาจอดเรืออยู่แถบนั้นล้มตายเป็นอันมาก จากนั้นได้เข้ามาตั้งค่าย ณ ตอกระออมและดงรังหนองขาว ให้ไพร่พลต่อเรือรบเรือไล่อยู่ ณ ที่นั้น แล้วจัดทัพแยกไปตีเมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรี ด้านเนเมียวสีหบดียกทัพจากทางเหนือเคลื่อนลงใต้ตีหัวเมืองต่างๆลงมา ทางกรมการเมืองเหนือมีใบบอกลงมาว่า ทางเหนือเนเมียวสีหบดีส่งทัพหน้าลงมาตั้งที่กำแพงเพชร ทำการต่อเรือรบ เรือลำเลียงพลตลอดจนสะสมเสบียงอาหาร สมเด็จ พระเจ้าเอกทัศโปรดให้เจ้าพระยาพิษณุโลก ยกทัพไปตีข้าศึกในเดือน ๗ ทัพหน้าของพม่าก็ยกมาจากกำแพงเพชรมาตั้งค่ายที่เมืองนครสวรรค์ เดือน ๑๑ เนเมียวสีหบดียกจากเชียงใหม่มาทางด่านสวรรคโลก ตีเมืองต่างๆ เรื่อยมาจนถึงสุโขทัย ได้เมืองสุโขทัยแล้วตั้งทัพมั่นอยู่ในเมือง เจ้าพระยาพิษณุโลกยกทัพไปช่วย แต่เกิดเหตุจลาจลที่เมืองพิษณุโลก เจ้าพระยาพิษณุโลกจึงจำต้องยกทัพกลับไปจัดการบ้านเมือง เนเมียวสีหบดีรบกับไทยที่เมืองสุโขทัยจนถึงเดือนยี่ จึงได้ยกไปสมทบกับทัพหน้าที่กำแพงเพชร ในระยะแรกที่ฝ่ายไทยได้ทราบข่าวการรุกรานของพม่าและต่างเห็นว่าพม่าต้องยกมาตีไทยแน่นอน จึงได้ตระเตรียมทัพไว้เพื่อรับมือ แต่การวางแผนรับมือทัพพม่ากลับเป็นไปโดยผิดพลาดอย่างมหันต์ ตำราพิชัยสงครามโบราณ
สมัยธนบุรี
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
ภายหลังการสูญเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าแล้ว บ้านเมืองอยู่ในสภาพระส่ำระสาย ขาดพระเจ้าแผ่นดินปกครอง ประชาชนพากันหลบหนีไปอยู่ตามป่า และหัวเมืองห่างไกล อย่างไรก็ตาม การเสียกรุงครั้งที่ 2 นี้ยังมีหัวเมืองอีกหลายแห่ง ที่รอดพ้นจากการทำลายของพม่า จึงได้มีผู้นำคนไทยตั้งตัวเป็นเจ้าชุมนุมขึ้น เพื่อรวบรวมกำลังเข้ากอบกู้อิสรภาพต่อไป
ชุมนุมคนไทยทั้ง 5 ชุมนุม ได้แก่
- ชุมนุมเจ้าพิมาย
- ชุมนุมเจ้าพระฝาง
- ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก
- ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช
- ชุมนุมเจ้าตาก หรือพระยาตาก (สิน) ซึ่งสามารถกอบกู้เอกราชกลับคืนมาได้ ภายในปีเดียวกันนั้น โดยใช้เวลาเพียง 7 เดือน
สมัยรัตนโกสินทร์
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์
การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
หลังจากที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ทรงปราบจลาจลในปลายสมัยธนบุรีเสร็จสิ้นแล้ว จึงได้ทรงสถาปนาราชวงศ์จักรี และขึ้นครองราชย์ในฐานะปฐมกษัตริย์ แ่ห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระนาว่า สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี มายังฝั่งกรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อ พ.ศ. 2325
สาเหตุที่ทรงย้ายราชธานี มีดังนี้ คือ
1. พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ มีวัดขนาบทั้ง 2 ข้าง (คือวัดท้ายตลาด หรือวัดโมลีโลกยาราม และวัดอรุณราชวราราม)
2. ทรงไม่มีพระประสงค์จะให้ราชธานีแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยากั้น
3. พื้นที่นทางฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม สามารถขยายเมืองออกได้อย่างกว้างขวาง
4. ฝั่งธนบุรีพื้นที่เป็นท้องคุ้ง น้ำกัดเซาะตลิ่งพังทลายได้ง่าย
ในการสร้างพระบรมมหาราชวัง โปรดให้สร้างวัดขึ้นในพระบรมมหาราชวังด้วย คือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐาน
สมัยอยุธยา
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา
(พ.ศ. 1893 - 2310)
การสถาปนากรุงศรีอยุธยา
ในราวปี พ.ศ. 1893 เมื่อกรุงสุโขทัย เริ่มเสื่อมอำนาจลง หัวเมืองต่าง ๆ จึงแข็งข้อ เมืองอู่ทอง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุงสุโขทัยเป็นเมืองใหญ่ พระเจ้าอู่ทอง จึงเริ่มสะสมกองกำลัง และเป็นผู้นำคนไทย ที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง และตอนล่าง ได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นอิสระจากสุโขทัย โดยตั้งราชธานีบริเวณหนองโสน หรือบึงพระราม ซึ่งก็คือจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน เหตุที่ย้ายเมืองมาสร้างราชธานีที่กรุงศรีอยุธยา ก็เนื่องจากเป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ และเป็นที่รวมของแม่น้ำหลายสาย จึงเป็นปากประตูสู่เมืองทางด้านเหนือทั้งสุโขทัยและเชียงใหม่ พระเจ้าอู่ทองทรงเป็นปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์อู่ทอง ทรงพระนาว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
สมัยสุโขทัย
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยสุโขทัย
(พ.ศ. 1780 - 1981)
การสถาปนากรุงสุโขทัย
ก่อนการสถาปนากรุงสุโขทัย ดินแดนตั้งแต่ภาคเหนือ ลงมา แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาถึงอ่าวไทย อยู่ภายใต้การปกครองของขอม โดยดินแดนตั้งแต่ปากน้ำโพขึ้นไป เป็นอาณาเขตสยาม มีเมืองสุโขทัยเป็นศูนย์กลาง และดินแดนส่วนใต้ ตั้งแต่ปากน้ำโพ ลงมาถึงอ่าวไทย เป็นอาณาจักรละโว้ ราวปี พ.ศ. 1780 พ่อขุนบางกลางหาว (หรือพ่อขันบางกลางท่าว) เจ้าเมืองบางยาง และพ่อขันผาเมือง เจ้าเมืองราช ได้ร่วมกันรวบรวมกำลัง เข้าตีเมืองสุโขทัยและเมืองต่าง ๆ ของขอม แล้วสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยมีพ่อขุนบางกลางหาวเป็นปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์พระร่วง ทรงพระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปกครองกรุงสุโขทัย และมีกษัตริย์สืบต่อมารวม 9 พระองค์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)